วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner Planets)

       

          ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner Planets) คือ ดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับแถบดาวเคราะห์น้อย มี 4 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ กาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ดาวเคราะห์ที่อยู่ในชั้นนี้เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก มีความหนาแน่นสูง มีองค์ประกอบเป็นหินและโลหะ


          1. ดาวพุธ (Mercury)
           ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุดและอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด การที่ดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดนี้เอง จึงใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์สั้นที่สุด การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของดาวพุธ ดาวพุธจะหันเข้าหาดวงอาทิตย์เพียงด้านเดียว ส่วนอีกด้านหนึ่งจะไม่ได้รับแสงสว่างเลย จึงได้รับฉายาว่าเป็น เตาไฟแช่แข็ง เพราะด้านที่ได้รับแสงสว่างจะร้อนจัด และด้านที่ไม่ได้รับแสงสว่างจะเย็นจัด
ดาวพุธมีพื้นผิวเต็มไปด้วยหลุมบ่อมากมาย เนื่องจากก้อนอุกกาบาตตกลง
สู่พื้นผิวดาวพุธโดยไม่เผาไหม้ในชั้นบบรยากาศดังเช่นดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ

          ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียวกับการโคจรรอบดวงอาทิตย์ คือจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก และโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ แต่หมุนรอบตัวเองค่อนข้างช้า โดยใช้เวลารอบละ 58 วัน ดาวพุธมีทางโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีมากที่่สุด ที่พื้นผิวของดาวพุธด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิสูงสุดถึง 467 องศาเซลเซียส ในขณะที่ด้านที่ไม่ได้รับแสงสว่าง อุณหภูมิจะลดลงเหลือเพียง -183 องศาเซลเซียส จะเห็นได้ว่าด้านที่ได้รับแสงสว่างของดาวพุธจะร้อนมาก ส่วนด้านที่ไม่ได้รับแสงสว่างจะเย็นจัดมาก ที่เป็นเช่นนี้เพราะดาวพุธไม่มีบรรยากาศที่ดูดกลืนความร้อนเหมือนโลกของเรา

       2.ดาวศุกร์ (Venus) 
          ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด มีขนาดเล็กกว่าโลกเล็กน้อย จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดกับโลก อยู่ห่างจากดวงอาทิย์เป็นลำดับที่ 2 บรรยากาศที่หนาทึบของดาวศุกร์จะสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ส่วนใหญ่กลับสู่อวกาศ ทำให้มีความสว่างมาก โดยสว่างรองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เท่านั้น ถ้าเห็นทาทิศตะวันตกในเวลาค่ำ เรียกว่า ดาวประจำเมือง (Evening Star) และถ้าเห็นทางทิศตัวันออกในเวลาเช้ามืด เรียกว่า ดาวประกายพรึก (Morning Star)

ดาวศุกร์เป็นดาวที่ถูกปกคลุมด้วยเมฆของกรดซัลฟิวริก
และบรรยากาศของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

          ชั้นบรรยากาศส่วนใหญ่ของดาวศุกร์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (96%) รองลงมาคือไนโตรเจน (3.5%) ไอน้ำ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ อาร์กอน คาร์บอนมอนอกไซด์ นีออน ปริมาณน้อยลดลั่นลงไปตามลำดับ
          พื้นผิวของดาวศุกร์มีลักษณะเป็นหลุมบ่อ ซึ่งเกิดจากการชนของอุกกาบาต และปล่องภูเขาไฟ ดาวศุกร์มีบรรยากาศที่หนาแน่นมาก ความดันเฉลี่ยของบรรยากาศที่พื้นผิวประมาณ 91 เท่าของบรรยากาศที่พื้นผิวโลก เนื่องจากองค์ประกอบส่วนใหญ่ของบรรยากาศเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นแก๊สเรือนกระจก จึงดูดกลืนความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้ได้มาก ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวของดาวศุกร์สูงกว่าดาวพุธ ทั้งๆ ที่ดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า ซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 480 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ไอน้ำและซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศของดาวศุกร์จะรวมตัวกันเป็นกรดซัลฟิวริก
          ดาวศุกร์เป็นดาวที่แปลกมาก คือ มีการหมุนรอบตัวเองในทิศทางตรงข้ามกับดาวเคราะห์ดวงอื่น โดยดาวศุกร์หมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกทในขณะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ตะวันตกไปทางทิศตะวันออก ดาวศุกร์ขึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่นและหมุนสวนทางกับการโคจรรอบดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังเป็นดาวที่หมุนรอบตัวเองช้าที่สุดในระบบสุริยะ การหมุนรอบตัวเองที่ช้ามากนี้เอง จึงทำให้ความเข้มของสนามแม่เหล็กมีค่าน้อยมาก

      3. โลก (The Earth) 
          โลกมีอายุประมาณ 4500 ล้านปี มีรูปร่างค่อนข้างกลม โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้สั้นกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวนอนอยู่เล็กน้อย
          ลักษณะของโลกแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ เปลือกโลก (Crust) เนื้อโลก (Mantle) และแก่นโลก (Core) โดยเปลือกโลกเป็นส่วนนอกสุด ประกอบด้วยส่วนที่อยู่ภายนอกที่เป็นแผ่นดินและน้ำ กับส่วนที่เป็นหินแข็งซึ่งฝังลึกลงไปใต้ผิวดินและผิวน้ำ หนาประมาณ 6-35 กิโลเมตร ถัดลงไปจากเปลือกโลกคือเนื้อโลก ซึ่งมีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยหินและแร่ธาตุต่างๆ หลายชนิด ถัดจากเนื้อโลกจะเป็นแก่นโลก ซึ่งเป็นส่วนชั้นในสุดของโลก หนาประมาณ 3,440 กิโลเมตร ประกอบดวยธาตุเหล็กและนิกเิลเป็นส่วนใหญ่ มีความหนาแน่นมาก มีีทั้งส่วนที่เป็นของแข็งและของเหลว (หินหนืด) เมื่อมองโลกจากอวกาศจะมองเห็นเป็นสีน้ำเงิน เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศที่หนาทึบและมีน้ำจำนวนมากในแหล่งน้ำต่างๆ พื้นผิวโลกประมาณ 3 ใน 4 หรือประมาณ 75% ปกคลุมด้วยน้ำทั้งในรูปของมหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง และอีก 25% ที่เหลือคือแผ่นดิน บรรยากาศของโลกทำหน้าที่คล้ายผ้้าห่มช่วยให้โลกอบอุ่น ทำให้อุณหภูมิตอนกลางวันกับกลางคืนไม่แตกต่างกันเกินไป

โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียงที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

          โลกมีการเคลื่อนที่อยู่ 2 อย่าง คือ การหมุนรอบตัวเองรอบละ 1 วัน และโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบละ 1 ปี การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดกลางวันและกลางคืน เกิดปรากฏการณ์ขึ้น - ตกของดาว และเกิดทิศ ส่วนการโคจรรอบดวงอาทิตย์ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ

       4. ดาวอังคาร์ (Mars) 
          ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิย์เป็นลำดับที่ 4 มีอุณภูมิพื้นผิวเฉลี่ย -23 องศาเซลเซียส และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณครึ่งหนึ่งของโลก แรงโน้มถ่วงของดาวอังคารจึงน้อยกว่าโลก ดาวอังคารมีคาบการหมุนรอบตัวเองใกล้เคียงกับโลก เวลา 1 วันบนดาวอังคารเกือบเท่ากับ 1 วันบนโลก แต่ 1 ปีบนดาวอังคารยาวนานเกือบ 2 เท่าของ 1 ปีบนโลก

ดาวอังคาร์มีอุณหภูมิต่ำจนคาร์บอนไดออกไซด์
ในบรรยากาศกลายเป็นน้ำแข็งแห้ง

          บรรยากาศบนดาวอังคารจะเบาบาง มีเพียง 7/1000 ของโลก บรรยากาศส่วนใหญ่เปฌนคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 95% รองลงมาคือไนโตรเจน 2.7% อาร์กอน 1.6% ที่เหลือเป็นออกซิเจน คาร์บอนมอนอกไซด์ ไอน้ำ นีออน คริปตอน เซนอน และโอโซน
          พื้นผิวดาวอังคารเต็มไปด้วยฝุ่นและก้อนหินระเกะระกะ เนื่องจากองค์ประกอบของดินส่วนใหญ่เป็นเหล็ก จึงทำให้ดาวอังคารมีสีเหมือนสนิมเหล็ก และที่บริเวณขั้วทั้งสองของดาวอังคารมีขั้วน้ำแข็งขนาดใหญ่อยู่ ซึ่งประกอบด้วยน้ำแข็งและคาร์บอนไดออกไซด์แห้ง

ดาวอังคารมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2 ดวง ชื่อ Phobos (ซ้าย)
และ Deimos (ขวา) ทั้งคู่มีสีคล้ำและพื้นผิวเต็มไปด้วยฝุ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น